บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( OAS : Office Automation System )

ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS ) เป็นระบบสำหรับเชื่อมโยงการทำงานของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล การจัดตารางนัดหมาย การประชุมทางไกล สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เช่น พนักงานป้อนข้อมูล( Data Entry Worker) เป็นกลุ่มพนักงานที่มีความรู้ในระดับต่ำกว่าผู้ชำนาญการ ( Knowledge Workers) OAS เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการสนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน และอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างกัน ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่างๆ ของสำนักงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ระบบสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วย · ระบบจัดการเอกสาร · ระบบจัดการด้านข่าวสาร · ระบบประชุมทางไกล · ระบบสนับสนุนสำนักงาน ระบบสำนักงานอัตโนมัติ OAS คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้าง ( Create) เก็บข้อมูล ( Store) ปรับปรุงข้อมูล ( Modify) แสดงภาพ ( Display) และติดต่อสื่อสารระหว่างระบบธุรกิจ โดยก...

ระบบการจัดการความรู้ (KMS : Knowledge Management System)

ระบบการจัดการความรู้ ( Knowledge Management System ) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ 1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร 2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว 3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ 5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เท...

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS : Group Decision Support Systems)

ระบบ GDSS ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ( Group Decision Support Systems) เหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นกับองค์กร จำเป็นต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่มซึ่งการตัดสินใจของคณะบริหารในอดีตที่ผ่านมานั้น ต้องมีการนัดประชุม ณ สถานที่แห่งเดียวกัน และในเวลาเดียวกันเท่านั้น ซึ่งต้องสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก อีกทั้งผลลัพธ์ของการประชุม ได้ไม่ดีเท่าที่ควร การพัฒนา DSS ในช่วงแรกมีจุดประสงค์ เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้ใช้แต่ละคนในการตัดสินปัญหาต่างๆ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1980 ได้มีนักวิชาการที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลายท่านริเริ่มแนวความคิดที่จะนำ DSS เข้ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มหรือองค์การ เนื่องมาจากในปัจจุบันการตัดสินใจปัญหาส่วนใหญ่ภายในแต่ละองค์การมักจะใช้ความเห็นของคณะกรรมการหรือคณะทำงานเป็นหลัก เพราะปัญหาจะมีความซับซ้อน ทำให้บุคคลเพียงคนเดียวไม่สามารถพิจารณาอย่างรอบคอบและทำการตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์ ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม Huber (1984) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต...

Pharming / Phishing

Pharming   คือ เป็นการที่แฮ็กเกอร์ ( Hacker) ได้เข้าไปโจมตีเครื่องแม่ข่าย ( server) ของเว็บไซต์ต่างๆ และทำการส่งคนเข้าเว็บไซต์ ให้ไปที่เว็บไซต์ปลอมแทน Pharming นั้นมักจะการทำโดยเข้าไปเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลแม่ข่าย ( hosts file) ของเครื่องแม่ข่ายที่เป็นเหยื่อให้เปลี่ยนไปที่เว็บไซต์ปลอมหรือว่าจะใช้ exploit ส่งเข้าไปโดยใช้ช่องโหว่ของ   DNS Serversoftware เอง การโจมตีรูปแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นการโจมตีชนิดที่สังเกตได้ยากเพราะว่าสิ่งที่ถูกโจมตีนั้นเป็นที่เครื่องแม่ข่ายและจะถูกส่งที่เว็บไซต์ปลอมที่มีลักษณะหน้าตาเหมือนกัน   ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจจับ ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็คือการป้องกันตัวเองโดยการไม่ประมาทเราจึงไม่ตกเป็นเหยื่อของ Pharming Phishing   คือ การหลอกลวงขั้นสูงทางอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของการปลอมแปลงอีเมล์ หรือข้อความที่สร้างขึ้นเพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนตัวต่างๆ อาทิ ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขประจำตัวผู้ใช้ ( User Name) รหัสผ่าน ( Password) หมายเลขบัตรประจำตัว

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ ต่อไปนี้ TPS, MIS, DSS, EIS, ES, OAS

1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ ( Transaction Processing System : TPS)      ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS คือ การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ      – ลดจำนวนพนักงาน      – องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว      – ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS)      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามาร...