Big Data คือ


Big Data คืออะไร

ถ้าถามว่า Big Data คงต้องบอกว่า คือ Data ทุกอย่างที่มีอยู่ในบริษัทของคุณ ไล่ตั้งแต่ข้อมูลบริษัท ที่ไม่ว่าจะเก็บอยู่ในรูปแบบไหน ไปจนถึง URLs ที่คุณ Bookmarks เอาไว้ นั้นก็ Big Data ถ้าจะบอกว่า Big Data is all around ก็คงไม่ผิดนัก เพราะมันไม่ได้จำแนกแจกจ่ายว่าต้องเป็นข้อมูลผ่านการวิเคราะห์มาแล้วหรือไม่ คือขอแค่เป็นข้อมูล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน ประเภทอะไร ก็นับว่าเป็น Big Data ทั้งนั้น


big-data2


ดังนั้นเราจึงกล่าวได้ว่า Big Data ก็คือข้อมูลทุกอย่างที่เรามีอยู่ในบริษัท ทั้งข้อมูลที่มีแหล่งที่มาจากภายในบริษัทเองและข้อมูลที่มาจากแหล่งที่มาภายนอกอย่าง Social medias ซึ่งทั้งหมดเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้หรือก็คือ ข้อมูลดิบ นั้นเอง ทั้งนี้ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีการหลากหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานด้านไหน ในปัจจุบันนิยมทำ Big Data Analysis เพื่อใช้ในการสำหรับการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต หรือ ก็คือเพื่อใช้ดูแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้นเอง

ใหญ่แค่ไหนถึงเรียก Big Data

ถ้าจะพูดถึงขนาดของ Big Data ก็ต้องบอกว่า มันคือ Data ทุกอย่างรวมกัน –แต่ในแนวคิดปัจจุบันเห็นพ้องไปทางเดียวกัน Data ที่ถือเป็น Big Data จะไม่สามารถนำมาบริหารจัดการได้ด้วยโปรแกรมแบบเดิมๆที่เราคุ้นเคยกันอย่าง spreadsheets หรือ เครื่องมือทั่วๆไปที่มีอยู่ในระบบการจัดการฐานข้อมูล

โดยปกติแล้วนั้น การวิเคราะห์ Big Data มักจะมีการแยะข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องอยู่รวมกัน ซึ่งนั้นหมายความว่าสำหรับ Big Data แล้วไม่จำเป็นจะต้องมีการสร้าง Sub-sets ย่อยๆของข้อมูลแต่อย่างใด เพราะมีเครื่องมือช่วยในเรื่องนี้อยู่แล้ว (สะดวกสบายไปอีกก)


คอนเซ็ปของ Big Data
ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนให้คอนเซ็ปสำหรับ Big Data เอาไว้ว่าต้องประกอบไปด้วยลักษณะที่สามารถสังเกตได้ คือ
1.ปริมาณ (Volume)
2.ความเร็ว (Velocity)
3.ความหลากหลาย (Variety)

 big-data1


ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนใส่ลักษณะเพิ่มเติมในการบ่งบอกความเป็น Big Data:

1.การแสดงข้อมูล (Visualization)
2.ความน่าเชื่อถือ Veracity (Reliability)
3.การผันแปร (Variability)
4.คุณค่า (Value)

อย่างไรก็ตามคุณสมบัติการบ่งบอกตัวตนแค่ 3 ข้อแรกก็เพียงพอแล้วที่จะอธิบายถึงคอนเซ็ปของ Big Data

ตัวอย่างของการใช้ Big Data

เราขอยกตัวอย่าง Netflix ย้อนกลับไปราวๆปี 2008 ลูกค้าผู้ใช้บริการ Video on demand กลุ่มใหญ่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาจอดำ ในขณะที่ลูกค้า Streaming ที่ใช้บริการผ่านคลาวด์บางรายสามารถใช้งานได้เป็นปกติ ผลกระทบครั้งใหญ่ในครั้งนี้ กดดันให้ Netflix ต้องเร่งหาทางแก้ไขก่อนที่คิดจะให้ขยายการให้บริการออกไปยังต่างประเทศ Big Data คือกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหา ทีมงานนำข้อมูลในทุกด้านทั้ง ส่วนที่มีความหนาแน่นในการใช้บริการ เครื่องข่ายความเร็วเน็ต จุดเชื่อมต่อระหว่างการให้บริการด้านข้อมูล ฯลฯ ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาทางป้องกันปัญหา Down-time ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Portal Web คือ

Pentaho คือ

WEKA คือ