Outsource / In house


Outsource

Outsource เอาท์ซอร์ซ คืออะไร

Outsource (เอาท์ซอร์ซ) คือ การแบ่งงานที่ทำออกเป็นส่วนๆ บางส่วนจ้างคนภายนอกทำให้ โดยไม่มีผลต่องานภายใน ซึ่งช่วยลดขั้นตอนงานที่ไม่จำเป็น หรือ มีต้นทุนสูง เปลี่ยนไปซื้้อหรือ ว่าจ้างจากองค์กร หรือ ธุรกิจอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งการทำ Outsource (เอาท์ซอร์ซ) นี้ มักจะทำกับงานที่เร่งด่วน จำเจ ขาดแคลนคน งานยากที่ต้องอาศัยผู้ที่ถนัดด้านนั้นเฉพาะ และงานจำพวกที่เยอะมากจนล้นมือคนในองค์กร

ประโยชน์ของ Outsource

1. บริษัท สามารถลดขนาดลง แต่ความสามารถเท่าเดิม
2. บริษัท สามารถ ต่อกรกับบริษัท ขนาดใหญ่ได้ แบบสูสี
3. บริษัท ลด cost ได้เป็นจำนวนมาก ทั้งด้าน คน สวัสดิการ เครื่องไม้เครื่องมือ
4. บริษัทสามารถ โฟกัส ไปที่สิ่งที่สำคัญต่อบริษัทมากกว่า เช่น ลูกค้า สัมพันธ์ การค้นคว้าวิจัย พัฒนา การตลาด เป็นต้น นั่นคือ ประสิทธิภาพ สูงขึ้น กำไรก็จะสูงขึ้นด้วย ทั้งต่อหน่วย และต่อจำนวนพนักงานบริษัท

ตัวอย่างการทำ Outsource

1.โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการผลิตสินค้า หรือการนำชิ้นส่วนมาประกอบกัน บางขั้นตอนโรงงานเหล่านั้นจะจ้างบริษัทภายนอกเป็นผู้รับไปทำ หากมีความชัดเจนว่ามีต้นทุนที่ต่ำกว่า 
2.การทำ (เอาท์ซอร์ซ) บริการที่หน้าเคาน์เตอร์ของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นฝาก ถอน หรือการรับชำระหนี้บัตรเครดิต ตัวเลขที่ได้ออกมาสะท้อนให้เห็นว่าค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เรียกเก็บจากลูกค้า ไม่คุ้ม เพราะต้นทุนของกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นสูงกว่าค่าธรรมเนียมที่ได้มา และได้ทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าวตามมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การนำเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติมาให้บริการ
3. การทำ IT outsource (ไอที เอาท์ซอร์ซ) ในการทำ Website (เว็บไซต์) ขององค์กรต่างๆ  ซึงมักจ้างบริษัทผู้ให้บริการด้านการ ออกแบบเว็บไซต์ พัฒนาเว็บไซต์ เข้ามาทำให้ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย programmer, Web Design เนื่องจากการเรียกใช้บริการ IT outsource นั้นมักมีค่าใช้จ่ายที่ถูกว่า การจ้าง Programmer (โปรแกรมมเมอร์) เพื่อเขียน Source code โปรแกรม แปะ web design (เว็บ ดีไซด์) เพื่อออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงาม มาทำให้โดยเฉพาะ


HR จะเลือก In house หรือ Outsource อย่างไร

           ในการดำเนินธุรกิจ องค์กรจะต้องตัดสินใจว่า จะดำเนินการผลิตเอง ที่เรียกว่า “In house” หรือจะว่าจ้างให้คนอื่นทำ ที่เรียกว่า “Outsource” ซึ่งทั้ง 2 แบบมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน
           การบริหารแบบ In house มีจุดแข็ง คือ การควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานทำได้ดีกว่า แต่ต้องขยายธุรกิจด้วยการลงทุนทรัพยากรต่างๆ เพิ่มขึ้น และมักพบปัญหาว่าองค์กรจะใหญ่โตอุ้ยอ้าย ขาดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ เช่น การเพิ่มการลงทุนผลิตเครื่องยนต์ด้วยตนเอง ก็ต้องมีการขยายโรงงานและเพิ่มกำลังคนมากขึ้น
          การบริหารแบบ Outsource มีจุดแข็ง คือ ให้องค์กรหรือบริษัทที่มีความชำนาญเฉพาะด้านดำเนินงาน เช่น บริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ด้านบัญชี ด้านการวางระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ชัดเจน คือโครงการก่อสร้างจะมี Outsource ที่เรียกว่า Sub Contractor จำนวนหลายราย เช่น งานเสาเข็มและฐานราก งานก่อสร้าง งานระบบไฟฟ้า งานสุขภิบาล งานเครื่องปรับอากาศ งานตบแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน และงานจัดสวน    เป็นต้น

           ดังนั้น ในการตัดสินใจขององค์กรว่าเลือก   In house หรือ Outsource มักจะคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้

1)    ความเป็นผู้ชำนาญการในวิชาชีพหรือทักษะนั้นๆ รวมถึง ศักยภาพของบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินงาน ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการดำเนินงานเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้

2)    การบริหารควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน การผลิต ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ต้องเปรียบเทียบทั้ง 2 ทางเลือกในระยะสั้นและระยะยาว

3)    การบริหารองค์กรมีความยืดหยุ่นมากน้อยเพียงใด เช่น คำสั่งซื้อต้นปีมีจำนวนมาก   แต่ปลายปียอดสั่งซื้อลดลง  องค์กรจะบริหารงานอย่างไร

           งานของ HR ก็ต้องคิดต้องตัดสินใจว่าจะเลือก In house หรือ Outsource เช่นกัน โดยใช้ปัจจัยข้างต้นเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ เช่น งานรักษาความปลอดภัย งานดูแลต้นไม้จัดสวน งานทำความสะอาดอาคารสูง งานบริการรถรับ–ส่งพนักงานและผู้บริหาร ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะใช้การบริหารแบบ Outsource มากขึ้น

           การจ้างเหมาแรงงานที่เรียกว่า Sub Contract ก็เป็นการบริหารแบบ Outsource อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่การผลิตมีทั้งมาก และน้อยสลับกันไปตามแต่ละประเภทอุตสาหกรรม ไม่ใช่พนักงานชั่วคราวตามที่บางคนเรียกกัน ดังนั้น การตัดสินใจด้านกำลังคน จะมีวิธีการเลือกได้ 3 แนวทาง ดังนี้

           1) สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน   สามารถกำหนดช่วงเวลาในการทดลองงานนานเท่าใดก็ได้   แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหากจะมีการเลิกสัญญา ทั้งนี้มักใช้ในการว่าจ้าง Staff สำนักงาน

           2) สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ต้องกำหนดวันเริ่มต้น และวันสิ้นสุดไว้ หากต้องการเลิกสัญญาก่อนกำหนดจะทำได้ก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีฝีมือตามที่แจ้งไว้ ตัวอย่าง เช่น งานล่ามแปลภาษาต้องสามารถแปลและเขียนภาษาญี่ปุ่นได้ ที่เรียกว่า Freelance หรืองานอิสระ โดยทำสัญญามีกำหนดเวลา 1 ปี หรือ การว่าจ้างที่ปรึกษา     เป็นต้น

           3) สัญญาจ้างเหมาแรงงาน (Sub Contract) เป็นสัญญาระหว่างบริษัทต่อบริษัท โดยที่มีฝ่ายผู้ว่าจ้างและฝ่ายผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างมีหน้าที่ในการสรรหาคัดเลือกบุคลากร โดยมีผู้ว่าจ้างคอยตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามสัญญา นอกจากนี้ ผู้รับจ้างยังมีหน้าที่อื่นๆ เช่น การให้การอบรม การดูแลความปลอดภัยในการทำงาน การจ่ายค่าจ้างและจัดสวัสดิการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึง การดำเนินการทางวินัยหรือลงโทษพนักงาน Sub Contract  บางครั้งฝ่าย HR ของผู้ว่าจ้างอาจหลงลืมไปก้าวก่ายหน้าที่ลงโทษพนักงานเหล่านี้  จึงขอเตือนว่า  HR ไม่ใช่นายจ้างของ Sub Contract ต้องให้ทีมงานของผู้รับจ้างเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Portal Web คือ

Pentaho คือ

WEKA คือ