SPSS / PASW
เอสพีเอสเอส (SPSS)
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ
บริษัทจัดจำหน่าย SPSS ถูกซื้อโดย IBM เมื่อเดือนมิถุนายน
2552และปัจจุบันใช้ชื่อบริษัทว่า "SPSS: An IBM
Company"
SPSS เดิมชื่อว่า
"Statistical Package for the Social Sciences" (ชุดโปรแกรมสถิติเพื่อสังคมศาสตร์)
ออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2511 หลังจากถูกพัฒนาโดย Norman
H. Nie และ C. Hadlai Hull Norman Nie ในขณะนั้นเป็นนักศึกษารัฐศาสตร์ภาคบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์วิจัยที่ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และศาสตราจารย์เกียรติคุณสาขารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก SPSS เป็นหนึ่งในโปรแกรมที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติในสังคมศาสตร์
มันถูกใช้โดยนักวิจัยตลาด นักวิจัยสุขภาพ บริษัทสำรวจความคิดเห็น รัฐบาล
นักวิจัยการศึกษา บริษัทการตลาด ฯลฯ คู่มือการใช้งาน SPSS ฉบับแรก
(Nie, Bent & Hull, 1970) ถูกอธิบายว่าเป็นหนึ่งใน
"หนังสือที่ทรงอิทธิพลที่สุดในสาขาสังคมวิทยา"นอกเหนือไปจากการวิเคราะห์ทางสถิติแล้ว
การจัดการข้อมูล (การเลือกกรณีศึกษา, การแปลงแฟ้ม, การสร้างข้อมูลสืบทอด) และการทำเอกสารข้อมูล
(พจนานุกรมเมทาเดตาจะถูกเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล)
ก็เป็นความสามารถของซอฟต์แวร์รุ่นพื้นฐาน
โปรแกรม Spss คืออะไร
โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social
Science for Windows) เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง
ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ
ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทต่าง ๆ
และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของตาราง หรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ได้ทั้งแบบ
๒ มิติ และ ๓ มิติ การใช้งานโปรแกรมไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว
แต่ก็ยังมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ยังมีแนวคิดที่ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS
เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดีบ้าง
โอกาสในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อยบ้าง แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวข้างต้น
เนื่องจากการใช้โปรแกรม SPSS ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางสถิติเป็นอย่างดีเสมอไป
แต่ขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น เช่น
ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation) เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้งานโปรแกรม SPSS มักจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย
แต่ก็ไม่เสมอไป กล่าวคือ SPSS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี
เช่น การทำบัญชีและคำนวณรายรับรายจ่ายในครอบครัว
ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน
วิเคราะห์ทัศนคติ และความพึงพอใจต่อสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ SPSS ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร
หรือบุคคลในระดับอื่น ๆ อยู่ที่ว่าจะรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพดังกล่าวนั้นอย่างไร
โปรแกรม PASW (Predictive
Analytics SoftWare) Statistics 18
การบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรม
PASW
Statistics
เตรียมตาราง Data
Editors เพื่อกรอกข้อมูล
แถวตามแนวนอน (row) แทนผู้ตอบแบบสอบถาม 1 ราย / แถวตามแนวตั้ง (column) แทน 1 `คำถามในแบบสอบถาม
เตรียมข้อมูล Variable
View กำหนดค่าต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย
1. ตัวแปร (Name
Variable) ตั้งชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร
เป็นคล้ายๆ ชื่อเล่น เช่น edu
2. ฉลากตัวแปร (Label)
เป็นชื่อจริง เช่น education
3. ค่าฉลาก (Value)
กำหนดค่า เช่น 1=ชาย 2=หญิง
4. ค่าสูญหาย (Missing)
ใช้ 9, 99 (ไม่ตอบ)
5. ชนิดตัวแปร (Variable
Type) เช่น numeric (ตัวเลข) string (อักขระ) date (วันที่)
6. รูปแบบสดมภ์
(Column)
7. ระดับการวัด
(Measurement) ได้แก่ nominal, ordinal, scale (ซึ่งหมายถึง interval และ ratio)
เราสามารถกรอกข้อมูลไว้ใน excel แล้ว copy
มาแปะไว้ใน SPSS ได้ เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว
จะใช้ SPSS ท าการประมวลผลเบื้องต้น เช่น
การคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ความถี่สะสม และค่าสถิติพรรณนาต่างๆ ได้แก่ mean,
median, mode, sum โดยการเลือกค าสั่ง Analyze ->
Descriptive statistics -> Frequencies แสดงตารางแจกแจงความถี่ (frequency
table) และกราฟแท่ง แบบต่อเนื่อง (histogram) การแปรียบเทียบประชากร
2 กลุ่ม เช่น เพศที่ต่างกัน มีทัศนคติที่ต่างกันหรือไม่
จะใช้คำสั่ง Analyze -> Compare Mean -> Independent sample T-test และดูค่า Sig. หรือ P-value ถ้ามากกว่า
0.05 คือ ยอมรับสมมุติฐาน ที่ว่าค่าความแปรปรวนเท่ากัน (Equal
variances) แต่ถ้าค่า Sig. น้อยกว่า 0.05 แปลว่า ปฏิเสธสมมุติฐาน ปกติเวลาเขียนบทความตีพิมพ์ เราจะไม่ใช้ค าว่าค่า
Sig. เพราะค านี้ใช้เฉพาะโปรแกรม SPSS (อาจถูกฟ้องได้ถ้าไม่ซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรม) จะเลี่ยงมาใช้ค าว่า P-value
แทน และถ้า P-value > 0.05 จะไม่พูด ว่า
ทัศนคติของผู้ชายและผู้หญิง “เหมือนกัน” แต่จะพูดว่า
“แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ” แทน
ถ้าประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม จะใช้ One-way
ANOVA เช่น ทัศนคติจำแนกตามช่วงอายุ ใช้คำสั่ง
Analyze -> Compare Mean -> One-way ANOVA ถ้าค่า Sig. ที่ได้ น้อยกว่า 0.05 แสดงว่า มีช่วงอายุบางกลุ่มที่มีทัศนคติไม่เหมือนกลุ่มอื่น
สามารถใช้ Post Hoc หาว่าคู่ไหนที่ไม่เหมือนชาวบ้าน
โดยมีตัวเลือกย่อยต่างๆเช่น LSD, Scheffe (ซึ่งนิยมเลือกทั้ง
2 ตัว) หรืองานวิจัยทางด้านชีววิทยา จะนิยมเลือก Duncan,
Tukey (แต่ข้อเสียคือ สมาชิกแต่ละกลุ่ม ต้องมีจำนวนเท่ากัน)
ในกรณีที่เป็นตัวแปรนามบัญญัติ (Nominal scale) ทั้งหมดเช่นเพศ
หรือสถานภาพ กับชนิดของหนังสือที่อ่าน จะหาค่าความถี่ ร้อยละ และใช้คำสั่ง Analyze ->Descriptive ->Crosstabs ->
statistics (Chi-Square test) ถ้าค่า P-Value > 0.05 แสดงว่ายอมรับสมมุติฐาน Ho ตัวแปรทั้งสองตัวเป็นอิสระต่อกัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น